เรามักได้ยินกันบ่อยๆ ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อย ฉันเคยเห็นตัวเลขสถิติบ้างว่าโดยเฉลี่ยคนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด แต่บ้างที่ก็อ้าง แค่ 3 หรือ 7 บรรทัดเท่านั้น
ในขณะที่คนไทยคำนึงถึงตัวเลข 8 บรรทัดต่อปี แต่เมื่อไปเปิดหาตัวเลขทางสถิติการอ่านของชาวอเมริกันจะพบว่าเขามีการศึกษาอย่างละเอียดมาก เด็กอายุเท่านี้ถึงเท่านั้น สามารถอ่านได้ถึงระดับไหน อ่านแล้วจับใจความได้ไหม อ่านออกเสียงถูกต้องหรือไม่ นิสัยการอ่านเป็นอย่างไร
เห็นสถิติของชาวเอมริกันแล้วให้ตกใจว่าบ้านเราไม่มีการศึกษาแบบเขาบ้างหรือ ดังนั้นฉันจึงลองหาข้อมูลใหม่ และแล้วก็ได้รู้ว่าความจริงเพิ่มเติมว่าคนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 1.59 ชั่วโมง คิดแล้วเฉลี่ย 5 เล่ม/คน/ปี แต่ทั้งหมดเป็นสาระเพียง 7-8 บรรทัดเท่านั้น
งั้นเรามาลองคิดกันเล่นๆ ว่าที่คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 5เล่ม/คน/ปี นั้น ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 63 ล้านคน เฉลี่ยร้อยละ 20 เป็นเด็กแรกเกิดถึง 14 ปี คิดเป็น 12.6 ล้านคน ซึ่งถ้าสมมติว่าเด็กในวัยนี้จะยังไม่อ่านหนังสือหรืออ่านแต่หนังสือเรียนก็จะเหลือประชากรที่อ่านหนังสือทั่วไปประมาณ 50.4 ล้านคน แล้วขอสมมติต่อว่าหนังสือ 1 เล่ม = ต้นไม้ 1 ต้น คนไทยจะใช้ต้นไม้ 252 ล้านต้นต่อปี แต่ถ้าคิดแบบทดแทนว่าหนังสือเรียนก็ทำมาจากต้นไม้และวัยเรียนต้องใช้หนังสือมากกว่า 5 เล่มต่อปีแน่นอน เราจะได้ตัวเลขการบริโภคต้นไม้ของคนไทยประมาณ 315 ล้านต้น/ปี (ถ้าหนังสือเหล่านั้นเป็นหนังสือที่ทำจากกระดาษใหม่ทั้งหมด) แล้วถ้าคนทั้งโลกที่ประมาณว่าน่าจะมากกว่า 6,300 ล้านคนในปัจจุบัน ใช้ต้นไม้ในปริมาณเท่ากับคนไทยล่ะ? ไม่น่าเชื่อว่าเราจะต้องใช้ต้นไม้ 31,500 ล้านต้น/ปี ตัวเลขนี้ฉันว่ามันคงไม่ใกล้เคียงความจริงเท่าไหร่หรอกเพราะคนทุกประเทศอ่านหนังสือไม่เท่ากัน แต่เรื่องมันมีอยู่ว่าคนเราใช้ต้นไม้ทำหลายสิ่งหลายอย่างมากกว่ากระดาษหรือหนังสือ!!!
ทั้งหมดที่เขียนมาไม่ใช่อยากให้คนทั้งโลกเลิกอ่านหนังสือ เพราะฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านหนังสือ หันซ้ายหันขวามองบนชั้นวางหนังสือที่บ้าน นับได้ต้นไม้ต่ำกว่าร้อยต้น ก็หนังสือมีประโชยน์ต่อสมองและจิตใจนี่คะ ^^
วันนี้ฉันอ่านเจอเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับคนรักการอ่าน(หนังสือ)ถ้าเรานำเอากระดาษที่ใช้แล้วประมาณ 520 ตันต่อวัน มารีไซเคิลเราจะช่วยการลดการตัดต้นไม้ลงได้ถึง 12,480 ต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนที่จะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นได้ถึง58.24 ตันต่อวัน และนอกจากการรีไซเคิลแล้วเราสามารถช่วยรักษาสมดุลของต้นไม้กับหนังสือได้ด้วยสองมือนี้แล้วนะ ขอบอก ^______________^
การให้และการรับ Now BookMooch and Eco-Libris are partnering.
BookMooch ก่อตั้งขึ้นโดย John Buckman ที่นี่คือชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกจะแลกเปลี่ยนหนังสือกัน แต่การส่งต่อหนังสือให้คนอื่นหมายถึงว่าคุณจะต้องไม่รับมันกลับมา จากนั้นคุณก็สามารถขอหนังสือเล่มไหนก็ได้จากรายชื่อหนังสือที่มีคนต้องการจะให้ แน่นอนการหมุนเวียนของหนังสือจะช่วยลดการใช้กระดาษ และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้อีกด้วย เพราะหนังสือบางเล่มก็พิมพ์ขายเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น หรือถ้าคิดว่าการลดการใช้อย่างเดียวยังไม่พอเราสามารถให้หรือว่าทดแทนได้ด้วย Eco-Libris คือองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการปลูกต้นไม้สำหรับคนที่รักการอ่านและคิดว่า เขาต้องการช่วยทดแทนต้นไม้ให้กับโลกใบนี้ เราสามารถแสดงความจำนงในการทดแทนหนังสือได้โดยเข้าไประบุจำนวน จากนั้น จะได้ตัวเลขออกมา ถ้าเราไม่อยากปลูกต้นไม้เองหรือคิดว่าบริเวณที่เราจะปลูกไม่เหมาะสม เราสามารถโอนค่าใช้จ่ายไปยัง Eco-Libris ซึ่งจะเป็นคนกลางในการว่าจ้างคนไปปลูกต้นไม้แทนคุณ (ฉันว่าอันนี้ก็สะดวกดี แต่บางครั้งความสะดวกมักจะมากับสิ่งไม่พึงประสงค์นะ) อ้อ เดี๋ยวจะหาว่าฉันนิยมฝรั่งส่วนคนไทยก็มีกิจกรรมดีๆ ไม่น้อยหน้าเขาเหมือนกัน ขอแนะนำวันฉลาดไม่ซื้อ "ตลาดนัดแบ่งปัน" เพียงแค่นำสิ่งของที่คุณต้องการแบ่งปันไป...แล้วถ้าต้องการก็เดินเลือก แลก - เปลี่ยน(งานนี้ไม่มีกำไร-ขาดทุน ค่ะ)
ทั้งการให้และรับหนังสือผ่านBookMooch, การปลูกต้นไม้ทดแทนผ่าน Eco-Libris และการจัดตลาดนัดแบ่งปัน ทำให้ฉันนึกถึงเพลงของพี่ๆ อัสนี-วสันต์ "ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง" บางทีการเอาอะไรที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิตก็ทำให้เราตัวเบาขึ้น มีพื้นที่ว่างสำหรับการรับสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น ไม่ใช่หรือ ^^
วันจันทร์, มกราคม 14, 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น